ระบบวิศวกรรมและงานโยธา

ระบบโครงสร้าง

โครงสร้างที่นำมาใช้ภายในโครงการคือโครงสร้างแบบ Reinforced Concrete และ

โครงสร้าง

ระบบท่อสำหรับการปฏิบัติการ

สามารถแยกได้ ดังนี้

    1. ก๊าซเชื้อเพลิง Compressed Air , น้ำประปาที่ผ่านการกรอง , น้ำร้อนเป็น ระบบอันเดียวกัน หมายถึง เป็นชุดของท่อที่จะเดินควบคุมไปด้วยกันเป็นส่วนใหญ่รวมเรียกว่า “ ชุดท่อจ่ายสำหรับการปฏิบัติการ “
    2. ระบบท่อน้ำทิ้ง
    3. ระบบดูดควันและระบายอากาศ

การพิจารณาการออกแบบระบบท่อ

การพิจารณาในการใช้ท่อ และการเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละชนิดรวมทั้งการติดตั้งและระบบการเดินท่อขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน มีดังนี้ คือ

1. Typical central service ลักษณะของศูนย์จ่ายและลักษณะการจ่ายแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือในทางดิ่ง ( vertical ) และในทางนอน ( Horizontal ) ซึ่งโดยมากมักจะใช้ระบบ Grid เป็นหลักในการเดินท่อ ประกอบไปด้วยท่อหลัก ท่อแยก จะแตกย่อยออกไปตามจุดที่ต้องการ

2. การออกแบบท่อ ควรให้มีการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การออกแบบให้สามารถมีจุดหรือข้อต่อให้เผื่อไว้ในกรณีมีการต่อเติมเพิ่ม

3. การออกแบบเพื่อเผื่อหรือความต้องการในอนาคตเกี่ยวกับท่อหรือระบบการจ่าย รวมทั้งขนาดของท่ออาจจำเป็นต้องทำให้ใหญ่และมีพื้นที่เผื่อ เพียงพอสำหรับการเข้าไปตรวจสอบหรือการทำความสะอาด

4. วัสดุในการทำท่อ คุณสมบัติของท่อที่ใช้ต้องให้เหมาะสม ทนทานและถูกต้องกับการใช้งานแต่ละประเภท

 

 

ชุดท่อจ่ายสำหรับการปฏิบัติการ

ท่อก๊าซเชื้อเพลิงจะต้องมี Non - return Valve และ Pressure Relief Valve เพื่อความปลอดภัย ในการออกแบบติดตั้งควรมีเผื่อไว้สำหรับการขยายตัวในอนาคต การเดินท่อไม่เดินในดิน อุโมงค์ตามร่องเพดานหรือในบริเวณที่เป็นที่อับเพราะเมื่อก๊าซรั่วจะทำให้เกิดการระเบิดได้ง่าย ท่อควรใช้ black steel ยึดด้วยปลอกโลหะ

Compress Air ต้องเป็นอากาศที่มีคุณภาพดีพอสมควร ต้องปราศจากน้ำมัน หรือสารแปลกปลอมและไม่มีไอน้ำปนมาด้วย ฉะนั้นบางครั้งจำเป็นต้องมีเครื่องทำให้อากาศแห้ง ( Air Drier ) เมื่ออาจจะมีไอน้ำในอากาศเมื่อเปิดใช้ Compress Air เพราะบางครั้งอากาศที่ส่งมาจะเป็นแบบเย็นอุณหภูมิประมาณ 40 F จะทำให้เกิดไอน้ำขึ้น แรงอัดอากาศที่ใช้ในการทดลองโดยมากใช้ขนาด 40 p.s.i.g. สำหรับเหมาะสมที่ใช้ในการทดลองคือ 5 ctm.at 28 inches Hg. วัสดุที่ใช้ทำท่อคือทองแดง หรือ Galvanized Steell มีปลอกโลหะยึดติด

น้ำประปาที่ผ่านการกรอง น้ำที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีความสะอาดผ่านการกรองเอาฝุ่นเศษตะกอนออกหรืออาจมีสารบางชนิดมากเกินไป จึงควรผ่านการกรองเพื่อช่วยลดปริมาณสารปนเปื้อนลง วัสดุที่ใช้ได้แก่ Galranized Steel มีปลอกโลหะยึดติด

น้ำร้อน น้ำร้อนมักจะไม่ใช้ในการทดลอง เนื่องจากการอุ่นสารจะใช้วิธีอื่นๆ เช่น อ่างล้างมือ น้ำร้อนจึงใช้เฉพาะล้างเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในบางครั้ง การใช้น้อยมาก ในระยะเริ่มแรกอาจต้องออกจากระบบได้ วัสดุที่ใช้ได้แก่ ท่อทองแดง

ดังนั้น ชุดของท่อจ่ายในการปฏิบัติจึงมีเพียงท่อน้ำประปาที่ผ่านการกรองหรือท่อก๊าชเชื้อเพลิงส่วน Compress Air มักจะใช้เป็น Air pump ขนาดเล็กประกอบกับเครื่อง ส่วนน้ำร้อยก็ใช้เฉพาะห้องล้างเครื่องแก้วและระบบเฉพาะ การเลือกใช้ระบบท่อแบบ Horizontal main Vertical stock ระบบท่อในการนอนและปล่อยท่อในทางตั้ง ส่วนใหญ่จะเดินในจุดกลางหรือบริเวณทางเดินกลางซึ่งสามารถุประหยัดในเรื่องของการเดินท่อ และระยะทางในการจ่ายก็สั้นและสะดวก รวมทั้งระยะสามารถตรวจสอบและดูแลรักษาได้ง่ายเพราะอยู่ในส่วนภายนอกซึ่งเป็นทางเดิน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยระบบต่างๆอยู่รวมกันเช่น ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิง ระบบเดินสายไฟฟ้าและระบบระบายอากาศ ฉะนั้นระบบของการจ่ายจาก main ออกทั้ง 2 ข้าง จึงน่าจะเป็นระบบที่ประหยัดและเหมาะสมที่สุดในลักษณะนี้

ระบบท่อน้ำทิ้ง
เป็นส่วนหนึ่งของระบบท่อ ทั้งในทางตั้งและทางนอน มักจะเดินอยู่เหนือห้องคือ ใต้พื้นชั้นบนหรืออาจจะเดินตามผนัง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้และบำรุงรักษาได้ดี และการออกแบบก็ควรให้มีข้อต่อ และจุดตรวจสอบรักษาความสะอาดได้และสามารถต่อเพิ่งได้ วัสดุท่อควรมีคุณสมบัติทนกรดทนด่าง

ระบบท่อดูดควันและระบายอากาศ

ทั้ง 2 ระบบนี้จะมีบางส่วนที่อุปกรณ์ส่ามารถทำได้ทั้ง 2 ระบบ เช่น Fume Cupboard บางส่วนที่เป็นระบบดูดควันและอากาศเท่านั้น และบางส่วนก็เน้นที่การระบายอากาศโดยไม่ต้องใช้ระบบท่อ เช่น พัดลมดูดอากาศ การเดินท่อจะต้องแยกท่อที่มาจากแต่ละ Fume Hood และFuuume Cupboard เนื่องจากไอที่ระเหยขึ้นมามีปฏิกิริยากันได้ถ้ารวมเข้าด้วยกัน ระบบทางเดินท่อมักกจะเดินออกจากตู้หรือเหนืออุปรณ์ออกนอกอาคารสู้เส้นทางเดินท่อและปล่อยออกนอกที่ระดับสูงเหนืออาคาร

 

งานสถานที่ก่อสร้างและงานโยธา

สถานที่ก่อสร้าง

สร้างในบริเวณที่ดินโฉนดเลขที่ 1937 ซอยไชยประชานุรักษ์ ถนนกรุงเทพ – นนทบุรี ระดับต่างๆในแบบก่อสร้างให้ถือระดับของหลังถนนซอยไชยประชานุรักษ์ เป็นระดับ

การเตรียมสถานที่

ผู้รับจ้างต้องวางผัง กำหนดแนว และระดับของอาคารอย่างถูกต้อง โดยให้เจ้าของงานและสถาปนิกเห็นชอบก่อนดำเนินก่อสร้าง

งานดิน

การขุดดินทำฐานราก จะต้องป้องกันไม่ให้บริเวณที่ขุดพังทะลาย และเมื่อตอกเสาเข็มแล้ว ถ้าก้นหลุมมีน้ำขังต้องสูบออกให้หมดและจึงบดอัดทรายก้นหลุมให้แน่น

การถมดินกลับ สำหรับงานที่มีพื้นคอนกรีตวางบนผิวดิน จะต้องถมดินเป็นชั้นๆชั้นละไม่เกิน 300 มิลลิเมตร และพื้นที่ในบริเวณที่ถมนั้นจะต้องเก็บเศษไม้ ตอไม้ ฯลฯ ออกให้หมด ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยก่อนดำเนินการบดอัดดิน

งานถมดิน ปรับระดับขั้นสุดท้าย ตรงตามระดับที่ระบุไว้ในผังบริเวณ

งานทำฐานราก

ฐานรากทั้งหมดต้องหยั่งลงไปจากดินเดิม ( ระดับ - 300 ) ตามระยะที่กำหนดไว้ในแบบ การตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องระวังไม่ให้หัวเสาเข็มแตก และตำแหน่งเสาเมถูกต้อง ได้ดิ่ง

ถ้ามีปัญหาตอกเสาเข็มไม่ได้ดิ่ง หรือเสาเข็มหัก ให้ปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบทันที

การเทคอนกรีตหยาบ ให้เทต่ำกว่าเสาเข็ม ค.ส.ล. 250 มิลิเมตร แล้วจึงวางเหล็กตะแกรงตั้งโครงเหล็ก หล่อฐานรากและตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ต่อไป